สกรุ๊ปพิเศษ » ทกจ.เพชรบูรณ์ จัดทริป Familiarization Trip เปิดประตูเส้นทางท่องเที่ยวใหม่เชื่อมโยง ๔ มรดกโลก

ทกจ.เพชรบูรณ์ จัดทริป Familiarization Trip เปิดประตูเส้นทางท่องเที่ยวใหม่เชื่อมโยง ๔ มรดกโลก

14 มิถุนายน 2018
1775   0

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเพชรบูรณ์ จัดกิจกรรม Familiarization Trip ดึงผู้ประกอบการไทย-ต่างชาติ
เปิดประตูเส้นทางท่องเที่ยวใหม่เชื่อมโยง ๔ มรดกโลก อยุธยา ศรีเทพ สุโขทัย หลวงพระบาง 

 

พร้อมจัดสัมมนาทางวิชาการและเจรจาธุรกิจ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวทั้งจากในและต่างประเทศ และสร้างแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น

นายพิบูลย์ หัตถกิจโกศล ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์  เปิดเผยว่า สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ดำเนินโครงการเปิดประตูเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง ๔ มรดกโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยวใหม่ให้กับภาคเหนือ และสร้างแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศให้รู้จักแหล่งท่องเที่ยวและสนใจการท่องเที่ยวในประเทศไทย และเป็นสื่อแนะนำผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวและนักลงทุน โดยจัดกิจกรรม Familiarization Trip และสำรวจแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ รวมถึงสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น

โดยใช้โอกาสด้านศักยภาพที่ตั้งที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างภาคและเชื่อมโยงการพัฒนาตาม North-South Economic Corridor และ East-West Economic Corridor และประตูเชื่อมโยงชายแดนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ที่จังหวัดตาก และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่จังหวัดเลย   เส้นทางการท่องเที่ยวจะเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร มุ่งสู่แหล่งท่องเที่ยวทางมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จากนั้นใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๒๑ มุ่งสู่จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

เจ้าพ่อหลักเมือง  เสาหลักเมืองเพชรบูรณ์ เป็นแท่งเสาหินทรายสีเทา มีลักษณะปลายป้านโค้งมน  มีความสูงจากฐานล่างถึงปลายยอด 184 เซนติเมตร กว้าง 30 เซนติเมตร ความหนาประมาณ 15-16 เซนติเมตร  มีจารึกอักษรขอมทั้ง 4 ด้าน ปลายฐานด้านล่างสุดมีลักษณะแผ่ขยายออกคล้ายวงกลมแบน  โดยสรุปได้ความว่า เป็นการจารึกลงในเสาหินทรายสีเทาใน 2 ยุคด้วยกันคือ ครั้งแรก

เป็นการจารึกในด้านที่ 1 เป็นอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤต มีข้อความ 22 บรรทัด จารึกเมื่อมหาศักราช 943 ตรงกับพุทธศักราช 1564 เป็นข้อความการสรรเสริญพระศิวะในศาสนาพราหมณ์ ส่วนการจารึกครั้งที่ 2 เป็นการจารึกใหม่ในด้านที่เหลือ 3 ด้านเมื่อจุลศักราช 878 ตรงกับพุทธศักราช 2059 เป็นอักษรขอม ภาษาไทย บาลีและเขมร เป็นข้อความเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มีข้อความที่ให้ช่วยกันสืบสานพระพุทธศาสนาให้ได้ 5,000 ปี


สักการะพระพุทธมหาธรรมราชา
พระประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นพระพุทธรูปเนื้อโลหะหล่อด้วยทองเหลืองบริสุทธิ์ ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อเป็นองค์ประธาน ประดิษฐาน ณ พุทธอุทยานเพชบุระ ถนนสายสระบุรี-หล่มสัก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ยอดพระเกตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขนาดหน้าตัก 11.984 เมตร มีความหมายว่า
1  หมายถึง  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์เอก หนึ่งในดวงใจของชนชาวไทย
1  หมายถึง  พระพุทธมหาธรรมราชา ซึ่งมีเพียงองค์เดียวในโลก  เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองเพชรบูรณ์  เป็นองค์พระที่อัญเชิญมาประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ของเมืองเพชรบูรณ์  9  หมายถึง  รัชกาลที่ 9  แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
84 หมายถึง  วโรกาสบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ  ซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์ อุทยานมีพื้นที่ครอบคลุมโบราณสถานในเมืองเก่าศรีเทพ ศรีเทพเป็นเมืองโบราณที่อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพ เดิมมีชื่อว่า “เมืองอภัยสาลี” ถูกค้นพบเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรง ราชานุภาพเสด็จไปตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์ และได้ทรงเรียกเมืองนี้เสียใหม่ว่า “เมืองศรีเทพ” เมื่อปี พ.ศ. 2447-

2448 เมืองโบราณศรีเทพนี้มีลักษณะเป็นเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ ที่ตั้งของเมืองอยู่ในชุมทาง ที่สามารถติดต่อกับภาคอื่น ๆ ได้สะดวก ดังนั้นจึงได้รับอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมจากอาณาจักรข้างเคียง มาผสมผสาน เช่น ศิลปะทวารวดี ศิลปะขอม เป็นต้น เมืองศรีเทพสร้างขึ้นในยุคของขอมเรืองอำนาจ ซึ่งคาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี โดยดูจากหลักฐานทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม
และวัฒนธรรมที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความเจริญสูงสุดทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม สันนิษฐานว่าเจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16

สักการะพระ ณ วัดธรรมยาน เริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2554 ซึ่งพระอุโบสถวัดธรรมยานนี้ มีความโดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรม โดยผสมผสานสถาปัตยกรรมแบบล้านนา-ล้านช้าง เข้ากับสถาปัตยกรรมไทยแบบร่วมสมัย ที่มีความเรียบง่าย แต่งดงามภายใน นอกจากนั้น บริเวณสระน้ำด้านหน้าพระอุโบสถ มีประติมากรรมพญานาคขนาดใหญ่ 2 ตน ตั้งคู่กัน ซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปและสักการะขอพร โดยผู้ที่ออกแบบพระอุโบสถและประติมากรรมพญานาคนั้น คือ คุณเทวินทร์ วรรณะบำรุง สถาปนิกอาวุโส บริษัท เอสซีจี จำกัด เป็นผู้ดำเนินการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างดังกล่าว จึงทำให้พระอุโบสถวัดธรรมยาน

และประติมากรรมพญานาค เป็นจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ประกอบกับความร่มรื่น เงียบสงบภายในบริเวณวัด จึงเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง

หอโบราณคดีเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2556 เดิมเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์หลังเก่า เมื่อมีการย้ายศาลากลางจังหวัดไปอยู่ศูนย์ราชการ ทางเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์จึงขอใช้สถานที่นี้เพื่อทำเป็นหอโบราณคดีโดยมีดำริมาจากบุคคลที่มีความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมภูมิปัญญาต่าง ๆ ของจังหวัดเพชรบูรณ์ จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นห้องโถงต้อนรับ ห้องกาแฟและห้องว่าด้วยของกินในเพชรบูรณ์ ชื่อว่า “ห้องครัวเพชรบูรณ์”

 

การจัดแสดงเรื่องราวของเพชรบูรณ์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงยุคศรีเทพ และจัดแสดงในช่วงต่อมาคือ สมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ จนถึงยุคร่วมสมัย มีห้องสมุดทางวัฒนธรรมของเพชรบูรณ์และห้องจัดนิทรรศการหมุนเวียน นอกจากนั้นยังเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการการท่องเที่ยวของเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์อีกด้วยสำหรับชื่อ เพ็ชรบูรณ์อินทราชัยนั้น เป็นพระนามของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย พระราชโอรสอันดับที่ 72 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การจัดแสดงแบ่งออกเป็น 4 ห้อง ได้แก่ ห้องที่ 1 โรงหนังไทยเพชรบูรณ์เป็นการจำลองโรงหนังแห่งแรกของเพชรบูรณ์ ห้องที่ 2 ห้องจากเขาคะนาถึงศรีเทพจัดแสดงเป็นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเพชรบูรณ์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคศรีเทพ ห้องที่ 3

จัดแสดงเกี่ยวกับความเป็นมาของเมืองเพชรบูรณ์ในสมัยสุโขทัย พบหลักฐานสำคัญให้ทราบว่าชื่อเดิมของเพชรบูรณ์คือเพชบุระ และห้องที่ 4 จัดแสดงเกี่ยวกับแผนการให้จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นเมืองหลวงของไทย มีห้องหลักเมือง ห้องเพชรบูรณ์เมื่อวันวาน ห้องตำนานเพชรบูรณ์ และห้องครัวเพชรบูรณ์

 

ชม “พิพิธภัณฑ์หล่มศักดิ์” สถานที่ที่รวบรวมเรื่องราว เหตุการณ์ ความเป็นมาและวิถีชีวิต ของ “เมืองหล่มสัก”
ชุมชนที่มีประวัติมาช้านานและมีความสำคัญอย่างมากของจังหวัดเพชรบูรณ์ มาจัดแสดงไว้ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา

เที่ยวชมถนนคนเดินไทหล่ม สัมผัสกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนท้องถิ่นผ่านถนนคนเดินไทหล่ม ตลาดนัดน่าเดินบนถนนสายรณกิจ ถนนสายเก่าแก่ของอำเภอหล่มสัก ซึ่งตลอดสองฟากฝั่งถนนยังคงความคลาสสิกของบ้านเรือนไม้โบราณ 2 ชั้นไว้ให้เห็นอย่างงามตา สีสันความคึกคักของถนนคนเดินไทหล่มจะเริ่มต้นทุกเย็นวันเสาร์ตั้งแต่ 5 โมงเย็นไปจนถึง 4 ทุ่ม เพลิดเพลินไปกับการออกร้านต่าง ๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าแม่ค้าชาวหล่มสัก ทั้งร้านจำหน่ายอาหารพื้นเมืองที่หารับประทานยาก เช่น ขนมจีนไทหล่ม ปิ้งไก่ข้าวเบือ ข้าวหลามพญาลืมแกง ฯลฯ สินค้าพื้นเมือง เสื้อผ้า เครื่องประดับ สินค้าทำมือของชาวบ้านที่สามารถซื้อเป็นของฝากของ

 

ที่ระลึก  นอกจากนี้ยังมีการแสดงทางวัฒนธรรม ซุ้มสาธิตการตีมีดโบราณ จากกลุ่มตีมีดบ้านใหม่ที่สืบทอดช่างฝีมือมานานนับ 100 ปี จากช่างชาวเวียงจันทน์ การแสดงดนตรีพื้นเมือง ตลอดจนกิจกรรมรำวงย้อนยุคให้ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวร่วมรำวงกันอย่างสนุกสนาน

พระธาตุศรีสองรัก จังหวัดเลย ตำนานแห่งสัจจะและไมตรี  สร้างขึ้นตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2103 สมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อเป็นสักขีพยานในการช่วยเหลือกันระหว่างพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา(ไทย) และพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง(ลาว) เนื่องจากยุคนั้นพม่าเรืองอำนาจ และมีการรุกรานดินแดนต่างๆ เพื่อขยายอำนาจ กษัตริย์ทั้งสองพระองค์จึงเห็นว่าควร

จับมือกันเพื่อความมั่นคง จึงได้กระทำสัตยาธิษฐานว่าจะไม่ล่วงล้ำดินแดนของกันและกัน พร้อมได้ร่วมกันสร้างเจดีย์ขึ้นถวายมีพระนามว่า“พระธาตุศรีสองรัก” ริมลำน้ำหมัน เป็นดังสักขีพยานแห่งสัจจะไมตรี จัดงานสมโภชพระธาตุในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ทุกปี

ผู้ที่จะมาสักการะพระธาตุศรีสองห้ามใส่เสื้อผ้า “สีแดง” หรือถือสิ่งของที่มีสีแดงเข้าไปบริเวณองค์พระธาตุ  เพราะ “
สีแดง” อาจเปรียบได้กับ “เลือด” ที่เป็นผลของการทำสงคราม ดังนั้น คนโบราณจึงมีการห้ามไม่ให้ผู้ที่สวมเสื้อผ้าสีแดง เข้าไปบริเวณองค์พระธาตุ จนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบมาจนถึงปัจจุบันด้วยเช่นกัน

ชมความงามของวัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว  วัดพระธาตุผาแก้ว เดิมชื่อพุทธธรรมสถานพระธาตุผาซ่อนแก้ว เป็นสถานที่ปฎิบัติธรรมซึ่งมีทิวทัศน์สวยงามรอบด้านมองเห็นผาซ่อนแก้วและทิวเขาสลับซับซ้อน มีศาลาปฎิบัติธรรมประดิษฐานพระพุทธรูปหยกงดงามภายในตกแต่งด้วยภาพวาดศิลปะสวยงามแปลกตา ตั้งอยู่ ณ บริเวณเนินเขาในหมู่บ้านทางแดง ต.แคมป์สน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งได้เริ่มก่อสร้างในราวปลายปี 2547 โดย คุณภาวิณี และ คุณอุไร โชติกูล ได้มีจิตศรัทธาซื้อที่ดินถวายเริ่มแรก

จำนวน 25 ไร่ เพื่อก่อสร้างเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมแก่พระสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ปัจจุบันมีผู้ร่วมถวายปัจจัยซื้อที่ดินเพิ่มรวมทั้งสิ้นมีที่ดินรวม 91 ไร่ สถานที่อันเป็นธรรมภูมิที่งดงาม ซึ่งเรียกว่าผาซ่อนแก้วนี้ มีธรรมชาติเป็นภูเขาที่สูงใหญ่ ซ้อนกันเป็นทิวเขาเรียงรายโอบรอบบริเวณศาลาปฏิบัติธรรม และบนยอดเขาสูงตระหง่านนั้น มีถ้ำอยู่บนปลายยอดเขา ซึ่งมีชาวบ้านทางแดงหลายคน

 

ได้เห็นลูกแก้วลอยเหนือฟากฟ้า และลับหายเข้าไปในถ้ำบนยอดผา ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมา และต่างถือว่าเป็นสถานที่มงคล มีความศักดิ์สิทธิ์และเรียกตามๆ กันว่า “ผาซ่อนแก้ว” และพุทธสถานที่มาตั้งในจุดที่โอบล้อมด้วยทิวเขาดังกล่าว จึงเรียกว่า “พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว” เพื่อเป็นนิมิตมงคลแก่ชาวบ้านทางแดง และผู้มาปฏิบัติธรรมสืบไป

อุทยานประวัติศาตร์สุโขทัย  หรือ เมืองเก่าสุโขทัย ตั้งอยู่นอกตัวเมืองสุโขทัย ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุโขทัยไป ตามทางหลวงหมายเลข 12 สายสุโขทัย-ตาก ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร เมื่อผ่านเข้าเขตเมืองเก่า จะแลเห็นยอดพระเจดีย์แบบต่างๆ อันสง่างามและวิหารอันศักดิ์สิทธิ์

กำแพงเมืองสุโขทัย ตั้งอยู่ตำบลเมืองเก่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นกำแพงพูนดิน 3 ชั้น โดยการขุดเอาดินขึ้นมาถมเป็นกำแพงและพื้นดินที่ขุด ขึ้นยังเป็นคูขังน้ำไว้ ใช้สอยและเป็นกำแพงน้ำขึ้นอีก 2 ชั้น กำแพงด้านทิศเหนือจดทิศใต้ยาว 2,000 เมตร ด้านทิศตะวันตกยาว 1,600 เมตร มีประตูเมือง 4 ประตู ด้านเหนือเรียกว่า “ประตูศาลหลวง” ด้านใต้เรียกว่า “ประตูนะโม” ด้านทิศตะวันออกเรียกว่า “ประตูกำแพงหัก” ด้านทิศ ตะวันตกเรียกว่า “ประตูอ้อ” ภายนอกกำแพงเมืองในรัศมี 5 กิโลเมตร มีโบราณสถานประมาณ 70 แห่ง

สร้างขึ้นไว้ในพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ได้รับการบูรณะซ่อมแซมโดยกรมศิลปากร และได้รับการจัดตั้งให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การ UNESCO ในปี 2537

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นอดีตราชธานีที่มีอายุยืนยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยคือ 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองจำนวนทั้งหมด 33 พระองค์ ในช่วงระยะเวลาอันยาวนานนี้ บรรพชนของไทยได้สร้างสรรค์

ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมต่าง ๆ ไว้เป็นอนุสรณ์มากมาย ปรากฏเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า มีพื้นที่โบราณสถานทั้งสิ้นประมาณ 3,000 ไร่ โดยกรมศิลปากรได้ดำเนินการอนุรักษ์โบราณสถานเมืองพระนครศรีอยุธยาภายใต้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2525 และต่อมาในปี พ.ศ. 2534 อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)

วิหารพระมงคลบพิตร เป็นวัดอารามหลวง ทางทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ มีจุดเด่นที่สำคัญคือเป็นวัดเก่าแก่ในเขตกำแพงเมือง ที่ได้รับการบูรณะอย่างดี วิหารมีพระมงคลบพิตร พระพุทธรูปประธานขนาดใหญ่ที่เสียหายตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

การเดินทางตลอดทั้งนี้กิจกรรม Familiarization Trip และสำรวจแหล่งท่องเที่ยวบนเส้นทางเชื่อมโยง ๔ มรดกโลก จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 8-12 มิถุนายน 2561 และวันที่ 29 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม 2561 โดยจะมีการสัมมนาทางวิชาการและเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมต่อยอดธุรกิจและสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวทั้งจากในและต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลบวกให้กับการท่องเที่ยวรวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ซึ่งคาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ ปี และกำลังเสนอรายชื่อเป็น Tentative List  เพื่อรับรองให้เป็นมรดกโลกในอนาคตของประเทศไทย จากนั้นเดินทางต่อผ่านเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่าของจังหวัดเพชรบูรณ์

ที่มีวัฒนธรรมไทหล่มที่มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยผ่านด่านพรมแดนบ้านนากระเซ็ง จังหวัดเลย เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จากนั้นมุ่งสู่เมืองหลวงพระบาง แหล่งท่องเที่ยวทางมรดกโลกที่สำคัญ จากนั้นกลับเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้ง แล้วเดินทางมุ่งสู่แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลก คือ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองเก่าสุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เชื่อมโยงต่อไปยังจังหวัดตาก

และออกจากประเทศไทยอีกครั้งที่ด่านแม่สอด ไปยังประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และหลังจากนั้นเดินทางกลับเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้งจากด่านแม่สอด จังหวัดตาก มายังจังหวัดพิษณุโลก และกลับสู่กรุงเทพมหานคร

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเพชรบูรณ์
ลิขสิทธิ์ภาพทั้งหมดโดยทีมช่างภาพ อินไซด์ทูเดย์    insidetoday.net