สุขภาพ » แพทย์รามาธิบดี เตือน พบคนไทยวัยทำงานและสตรีวัยกลางคนเป็นโรคช้ำรั่ว หรือ โอเอบี เพิ่มขึ้น ชี้80% ปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาส่งผลคุณภาพชีวิตแย่ลง

แพทย์รามาธิบดี เตือน พบคนไทยวัยทำงานและสตรีวัยกลางคนเป็นโรคช้ำรั่ว หรือ โอเอบี เพิ่มขึ้น ชี้80% ปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาส่งผลคุณภาพชีวิตแย่ลง

20 พฤศจิกายน 2017
1720   0

แพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ความรู้รับมือกับโรคOAB (OVERACTIVE BLADDER) หรือโรคช้ำรั่ว ในงาน “CHECK IN OAB ชีวิตดี เมื่อโอเอบีรักษาได้”พบปัจจุบันคนไทยวัยทำงานและสตรีวัยกลางคนขึ้นไปเป็นโรคช้ำรั่วหรือ OAB มากขึ้น ชึ้ 80% ปล่อยทิ้งไว้ไม่มารักษาส่งผลคุณภาพชีวิตแย่ลงและเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน เดินหน้าจัดงาน “Check in OAB ชีวิตดี เมื่อโอเอบีรักษาได้” เจาะลึก รู้จริง เข้าใจเรื่องโรค OAB กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากรพ.รามาฯ และCheck List กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นแชร์ประสบการณ์ตรงรับมือกับ OAB จากดารารับเชิญสุดพิเศษ“ตุ๊ก ดวงตา ตุงคะมณี” และ “เมจิ คัดกิ่งรักส์ คิคคิคสะระณัง”พร้อมกิจกรรมดนตรี “สุขาอยู่หนใด”จากศิลปินชื่อดัง“เบล สุพล” โดยมีผู้สนใจเข้า Check in OAB เป็นจำนวนมาก

                                                      ศ.นพ.วชิร คชการ หัวหน้าสาขาวิชาศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ
ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 เปิดเผยถึงภาวะโรคปัสสาวะบีบตัวไวเกิน  หรือ เรียกว่าโรคช้ำรั่ว OAB(Overactive Bladder ) ในงาน “CHECK IN OAB ชีวิตดี เมื่อโอเอบีรักษาได้”ว่า ปัจจุบันพบภาวะคนเป็นโรคดังกล่าว ซึ่งเป็นอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบปัจจุบันทันด่วนเพิ่มมากขึ้นถึง21.3%โดยส่วนใหญ่จะพบโรคนี้กับผู้สูงอายุที่มากขึ้น มากกว่าร้อยละ 30 ของผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปและสตรีเคยมีประวัติคลอดบุตรหลายคนแต่ปัจจุบันพบในผู้หญิงวัยทำงานอายุ 30- 40 ปี เพิ่มมากขึ้น ด้วยไลฟ์สไตล์ และยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เพราะมีการแข่งขันสูง มีการทำงานต่อเนื่องกันหลายชั่วโมง การทำงานออกนอกสถานที่ และเผชิญกับภาวะรถติด ทำให้ใช้เวลาบนท้องถนนนานเป็นพิเศษ ตามวิถีของคนเมือง ทำให้ไม่มีเวลาที่จะเข้าห้องน้ำ หรือต้องอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน อาจประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินปัสสาวะ มีอาการปัสสาวะเล็ด หรือการที่มีปัสสาวะรั่วไหลโดยไม่ได้ตั้งใจ

สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะที่มีส่วนในการควบคุมการปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ระบบหูรูด กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน ระบบประสาทที่ควบคุมการกลั้นและขับปัสสาวะ รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงบางอย่าง เช่น การดื่มน้ำน้อย กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานทำให้กระเพาะปัสสาวะเกิดการบีบตัวผิดปกติ จนกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ นอกจากนั้นคนที่เคยผ่าตัดมดลูกมาก่อนอาจมีการเสื่อมของหูรูด และการหย่อนยานของผนังช่องคลอดรวมทั้งบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะ ทำให้บริเวณคอกระเพาะปัสสาวะปิดไม่สนิทจึงเกิดอาการปัสสาวะรั่วออกมา และในวัยสูงอายุ และประจำเดือนหมดแล้วฮอร์โมนเพศหญิงจะลดลง ทำให้เยื่อบุในท่อปัสสาวะขาดความยืดหยุ่นระบบการปิดกั้นของท่อปัสสาวะลดลง ทำให้ปัสสาวะรั่วซึมได้เช่นกัน และรวมถึง การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ดารารับเชิญสุดพิเศษคุณตุ๊ก ดวงตา ตุงคะมณี

         ปัญหาของโรคนี้คือ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าตนเองเป็น เพราะมักจะเข้าใจผิดไปเองว่า อาการปัสสาวะบ่อยนั้นเกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น จึงไม่ไปตรวจที่โรงพยาบาลกว่า 80% ปล่อยทิ้งไว้ เนื่องจากอาย และไม่ได้รับข้อมูลจากโรคที่เพียงพอ ทำให้อาการเริ่มเป็นหนักขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าโรค OABจะไม่ใช่โรคที่คุกคามถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลกระทบต่อชีวิตในหลายด้าน ทั้งด้านกิจวัตรที่บ้านและความสัมพันธ์ในครอบครัว สุขภาพกายและจิตใจ สังคม รวมถึงการประกอบอาชีพ หากไม่ได้รับการรักษา อาการเริ่มต้นที่เป็นเพียงแค่ก่อความรำคาญ อาจเลวร้ายลงจนกลายเป็นอาการที่รุนแรง อาจทำให้เป็นปัญหาในการเข้าสังคม หรือเป็นปัญหาทางสุขภาพและอนามัยคนที่เป็น OAB มักมีข้อจำกัดในการดำเนินชีวิต โดยมักจะวนเวียนอยู่บริเวณห้องน้ำ  วางแผนประจำวันเรื่องการเข้าห้องน้ำ และรู้สึกเสี่ยงเกินไปที่จะออกจากบ้านไปทำธุระหรือออกกำลังกายเพราะกังวลกับการต้องหาห้องน้ำให้ทันเวลา ภาวะ OAB ยังอาจทำให้การทำงานลำบากขึ้น การตื่นนอนในตอนกลางคืนบ่อย ๆ ทำให้ประสิทธิผลของการทำงานลดลง

ผลกระทบทางด้านอารมณ์ทำให้มีความนับถือตัวเองลดลง และรู้สึกโดดเดี่ยว ต้องทนทุกข์กับความวุ่นวายในชีวิตประจำวันจาก OAB หรือพยายามซ่อนเร้นอาการ อาจต้องหลบเลี่ยงการเข้าสังคม หรือกระทั่งหลีกหนีจากเพื่อนฝูงและครอบครัว ซึ่งอาจทำให้พลาดโอกาสสำคัญที่เป็นส่วนสำคัญในชีวิต ผู้ที่เคยกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของ OAB อาจกลัวว่าคนอื่นจะได้กลิ่นของปัสสาวะหรือกังวลว่าจะปัสสาวะเลอะเสื้อผ้าหรือเฟอร์นิเจอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุมักเกิดขึ้นในขณะที่รีบไปเข้าห้องน้ำทำให้เกิดการหกล้มและส่งผลให้กระดูกหักได้

         

ดารารับเชิญสุดพิเศษ คุณคัดกิ่งรักส์ คิคคิคสะระณัง (เมจิ) 

สำหรับอาการของโรค OAB (OVERACTIVE BLADDER) หรือโรคช้ำรั่ว มีรายละเอียดดังนี้

▪ปัสสาวะรีบเร่ง: เป็นความรู้สึกปวดปัสสาวะอย่างฉับพลันและรุนแรงจนไม่สามารถรอได้ (คนปกติจะสามารถกลั้นปัสสาวะและชะลอการขับปัสสาวะได้)

▪ปัสสาวะบ่อย: การที่ต้องปัสสาวะที่บ่อยกว่าปกติคือมากกว่า 8 ครั้งต่อวัน(24 ชั่วโมง)

▪กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ / เล็ดราด: อาจมีการเล็ดราดของปัสสาวะร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ โดยการเล็ดราดนี้ไม่สามารถควบคุมได้จากความรู้สึกปวดปัสสาวะอย่างฉับพลัน

▪ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน: การตื่นขึ้นมาเพื่อไปปัสสาวะตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปในช่วงกลางคืน

 


                                                     กิจกรรมดนตรี “สุขาอยู่หนใด” จากศิลปิน เบล สุพล

ทั้งนี้สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะที่มีส่วนในการควบคุมการปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ระบบหูรูด กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน ระบบประสาทที่ควบคุมการกลั้นและขับปัสสาวะ รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงบางอย่าง เช่น การดื่มน้ำน้อย กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานทำให้กระเพาะปัสสาวะเกิดการบีบตัวผิดปกติ จนกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ นอกจากนั้นคนที่เคยผ่าตัดมดลูกมาก่อนอาจมีการเสื่อมของหูรูดและการหย่อนยานของผนังช่องคลอดรวมทั้งบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะ ทำให้บริเวณคอกระเพาะปัสสาวะปิดไม่สนิทจึงเกิดอาการปัสสาวะรั่วออกมา และในวัยสูงอายุและประจำเดือนหมดแล้วฮอร์โมนเพศหญิงจะลดลง ทำให้เยื่อบุในท่อปัสสาวะขาดความยืดหยุ่นระบบการปิดกั้นของท่อปัสสาวะลดลง ทำให้ปัสสาวะรั่วซึมได้เช่นกันและรวมถึงการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ศ.นพ.วชิร กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวหรือน่าอับอาย เพราะโรคนี้สามารถรักษาให้หาย หรือทำให้ดีขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ซึ่งการรักษามีหลายวิธี ทั้งการกินยารักษา การใช้ฮอร์โมนทดแทน การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยการขมิบช่องคลอด หรือแม้แต่การผ่าตัด อย่างไรก็ตาม นอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมด้วย เช่น การลดน้ำหนัก อย่าให้ท้องผูก งดสูบบุหรี่ งดดื่มกาแฟ โซดา น้ำอัดลม เนื่องจากมีสารกระตุ้นให้เกิดการขับถ่ายบ่อยนอกจากนี้การสวมใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ก็จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น