ข่าวทั่วไทย » ตลาดสุขใจรวมพลังรักษ์โลก ดีเดย์  3 พฤศจิกายน ใช้ถุงหิ้วพลาสติก ภาชนะโฟม หลอด-แก้ว-ขวดพลาสติกทั้งตลาด

ตลาดสุขใจรวมพลังรักษ์โลก ดีเดย์  3 พฤศจิกายน ใช้ถุงหิ้วพลาสติก ภาชนะโฟม หลอด-แก้ว-ขวดพลาสติกทั้งตลาด

4 พฤศจิกายน 2018
1145   0

ตลาดสุขใจรวมพลังรักษ์โลก 

งดใช้ถุงหิ้วพลาสติก ภาชนะโฟม หลอดแก้วขวดพลาสติก
ทั้งตลาดลูกค้าขานรับ พกถุงผ้า หิ้วตะกร้า มาช้อป กันพรึ่บพรั่บ

พ่อค้าแม่ค้าคึกคัก พลิกภูมิปัญญาไทย ทำหีบห่อจากวัสดุธรรมชาติ 

 

 


ตลาดสุขใจ
นสวนสามพราน ตลาดเกษตรอินทรีย์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย รณรงค์ลดโลกร้อน  ภายใต้แนวคิด รวมพลังรักษ์โลกWe Go Green ประกาศงดใช้ถุงหิ้วพลาสติกภาชนะโฟมหลอดแก้วขวดพลาสติก ในตลาดอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ 3 พฤศจิกายน นี้เป็นต้นไป ชวนลูกค้านำถุงผ้า หิ้วตะกร้า มาช้อป ด้านพ่อค้าแม่ค้าขานรับไอเดียรักษ์โลกคึกคัก พลิกวิถีภูมิปัญญาไทย ใช้วัสดุธรรมชาติที่ปลูกในแปลงอินทรีย์ มาทำบรรจุภัณฑ์เช่นกระทงใบตองตาข่ายจากเชือกกล้วยกระเป๋ากาบกล้วยตะกร้าใบมะพร้าว แพคห่อผักจากใบบัวหลวง หลอดดูดใบตอง หลอดดูดจากปล้องต้นอ้อ  อีกทั้งเปลี่ยนพฤติกรรมนำกระบอกน้ำและปิ่นโตมาใช้แทนแก้วขวดจานพลาสติก

 

นายอรุษ นวรา เลขานุการมูลนิธิสังคมสุขใจ ผู้นำการขับเคลื่อนสามพรานโมเดล และริเริ่มตลาดสุขใจ เชื่อมโยงห่วงโซ่อาหารตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เปิดเผยว่า เป็นนโยบายของมูลนิธิสังคมสุขใจ และคณะกรรมการตลาด ซึ่งมีพ่อค้าแม่ค้าในตลาดเป็นกรรมการ และคณะกรรมการผู้บริโภค ที่จะร่วมกันเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดโลกร้อน   และเพื่อให้ตลาดสุขใจซึ่งเป็นตลาดเกษตรอินทรีย์เป็นต้นแบบตลาดที่สร้างความ

เปลี่ยนแปลง เพื่อลดโลกร้อน ที่สามารถเริ่มได้จากการเปลี่ยนพฤติกรรมความคุ้นชินเดิมๆ ทั้งคนซื้อและคนขาย ในการลดปริมาณขยะถุงหิ้วพลาสติก ขยะภาชนะโฟมขยะหลอดพลาสติก ขยะแก้วพลาสติกและขวดพลาสติก ที่มใช้ และถูกทิ้งจำนวนมากในตลาด จากการสื่อสารประชาสัมพันธ์ และขอความร่วมมือทั้งพ่อค้าแม่ค้า และผู้บริโภคในช่วงทดลองประมาณ 2 เดือนที่ผ่านมา ปรากฏว่า ทุกฝ่ายตอบรับและมีส่วนร่วมอย่างล้นหลาม แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้        จะสร้างภาระเพิ่มขึ้นให้พ่อค้าแม่ค้าเพิ่มบ้าง ทั้งเวลา และต้นทุนและทำให้ผู้บริโภคที่ไม่ได้เตรียมถุงผ้า หรือตะกร้ามาได้รับความไม่สะดวกบ้างในช่วงแรก แต่ทุกฝ่ายก็ยินดี โดยต่างตระหนักและเห็นความสำคัญของการทำเพื่อสิ่งแวดล้อม

 

 

ายอรุษ กล่าวว่า ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้นำ คนร่วมขับเคลื่อน และมีคนปฏิบัติจริงๆ หัวใจของความสำเร็จของการร่วมลดโลกร้อนในครั้งนี้จึง อยู่ที่การปฏิบัติจริง และการทำเรื่องนี้ให้เป็นวิถีชีวิต ไม่ใช่เป็นเพียงการทำตามกระแส  เพราการปฏิบัติจริงๆ ในทุกวัน ของคนๆหนึ่งจะช่วยทำให้อีกหลายๆ คนเปลี่ยนแปลงได้   ซึ่งในทุกสัปดาห์ ตลาดสุขใจ จะได้ต้อนรับลูกค้า ใหม่ๆ          อยเสมอ   เชื่อว่าแต่ละคนที่ได้มาเห็นคนทั้งตลาด และผู้บริโภค ได้ร่วมมือกันลดโลกร้อน  โดยไม่ใช่เพียงลด แต่เป็นการงดใช้ถุงหิ้วพลาสติก หลอดพลาสติก ขวดพลาสติก แก้วพลาสติก และกล่องโฟม  อย่างจริงจัง   ก็จะทำให้ผู้คนมีจิตสำนึก เริ่มคิด และเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมตาม

ตลาดสุขใจ ในสวนสามพราน .นครปฐม เปิดทุกเสาร์อาทิตย์ เวลาประมาณ 09.00-16.00 .ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารทาง FB ตลาดสุขใจ หรือFB สามพรานโมเดล  โดยนับตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน เป็นต้นไป ย้ำว่า ผู้บริโภคต้องไม่ลืมที่จะพกถุงผ้า ตะกร้า มาใช้เอง

ความน่าประทับใจในการร่วม Go Green  ขอตลาดสุขใจในครั้งนี้ คือเกิดไอเดียใหม่ๆ ในการใช้วัสดุธรรมชาติและภูมิปัญญาไทย ซึ่งมีอยู่แล้วในแปลงพืชผักอินทรีย์ของเกษตรกร นอกจากนี้ยังเกิดการถ่ายทอดเทคนิคการใช้วัสดุธรรมชาติที่เคยมีในอดีต มาทำหีบห่อใช้บรรจุพืชผัก รวมถึงการออกแบบที่ให้ความสะดวกและความเท่ ด้วยหูหิ้วจากวัสดุธรรมชาติใหม่ๆ ที่ให้ความสะดวกโดยไม่ต้องใช้ถุงหิ้วพลาสติก หรือถุงพลาสติก รวมถึงการสรรหาบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ มาใช้แทนการใช้กล่องโฟมใส่อาหารให้ลูกค้า

ทั้งนี้พ่อค้าแม่ค้าในตลาดสุขใจ สะท้อนว่า ตอนแรกก็กังวลว่าจะทำให้ยุ่งยากมากขึ้น แต่พอเริ่มทำกลับเป็นความสุข ที่ได้มีส่วนลดโลกร้อน จากเดิมขั้นตอนการขายนั้นง่ายและสั้นมาก จับสินค้าใส่ถุงพลาสติก แล้วก็จบเลย แต่พอเปลี่ยนมาใช้ใบตองบ้าง ใบบัวบ้าง ก็ใช้เวลานานขึ้นในการห่อพืชผัก ซึ่งลูกค้าก็เข้าใจ และยินดีรอ  ทำให้มีเวลาได้พูดคุย ไต่ถามถึงวิธีการกิน วิถีการทำอินทรีย์  ประโยชน์สรรพคุณของพืผัก 

นายวัลลภ จารุรัตน์ พ่อค้าและเกษตรกรกลุ่มเกษตรอินทรีย์ท่าตำหนัก บอกว่า เดิมหลังร้านจะมีถุงหิ้วพลาสติกที่ต้องเสียเงินซื้อมาหลายแพค ตอนนี้เปลี่ยนไป คือหลังร้านจะเต็มไปด้วยใบบัวหลวง ใบตอง เชือกกล้วย  ซึ่งปกติเป็นพืชที่ขึ้นในแปลงอินทรีย์อยู่แล้ว แต่ไม่เคยได้ใช้ประโยชน์  ทำให้ลดค่าใช้จ่ายถุงหิ้วพลาสติกได้หลายบาท 

ไอเดียใหม่ ในการนำวัสดุธรรมชาติ วัสดุที่ไม่ใชพลาสติก มาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ พืชผัก และอาหารให้ลูกค้า ที่ได้รับความสนใจจากลุกค้ามาก เช่นมีการนำใบบัวหลวง ใบตองอินทรีย์มาห่อพืชผัก แถบเติมความกิ๊บเก๋ เอาเชือกกล้วยมามัด ผูกปมเป็นหูหิ้ว  ถุงตาข่ายจากเชือกกระสอบและเชือกกล้วยใส่ผลไม้เช่นมะเฟือง มะละกอ หัวปลี รวมถึงการใช้หลอดดูดจากวัสดุธรรมชาติเช่นจากปล้องต้นอ้อ ปล้องต้นข้าว ตะไคร้ และใบตองม้วนมัดด้วยเชือกกล้วย  

ด้านนายบัณฑิต เกิดมณี ซึ่งเป็นเกษตรอินทรีย์ และจำหน่ายมะพร้าวอินทรีย์ที่ปกติใช้หลอดพลาสติกเสิร์ฟให้ลูกค้า แต่ตอนี้เปลี่ยนมาใช้หลอดจากใบกล้วย เล่าถึงวิธีการทำหลอดดูดจากใบกล้วยอินทรีย์ว่า เริ่มจากตัดใบตองมาล้างทำความสะอาดให้แห้ง จากนั้นนำมาม้วน และผูกด้วยเชือกกล้วย ที่ผ่านการต้มทำความสะอาดแล้วประมาณ 15 นาที เพื่อสุขอนามัยที่ดีของลกค้าไอเดียน่ารักๆ เพื่อช่วยกันลดปริมาณถุงหิ้วพลาสติก ยังรวมถึงการให้บริการถุงผ้ายืมใช้ ที่ลุกค้าไม่ได้เอาถุงผ้ามา สามารถยืมใช้กลับบ้านได้ รวมถึงการผูกปิ่นโต ที่ลุกค้าสามารถนำปิ่นโตใส่ก๋วยเตี๋ยวกลับบ้านแล้วค่อยนำมาคืนในสัปดาห์ถัดไป การสรรหาเข่งเล็กๆ มาใส่พืชผัก เช่นพริก มะเขือ โชว์ โดยลูกค้าสามารถ        

นำกล่องมาใส่เองในหลายร้านค้าตอบแทนความร่วมมือของผู้บริโภคด้วยการให้ส่วนลดให้ของแถม  ในฝั่งผู้บริโภค ซึ่งต่างนิยมมาที่ตลาดสุขใจ เพื่อเลือกหาพืชผักอินทรีย์สดใหม่ ไปรับประทาน  เป็นประจำอยู่แล้ว เมื่อรู้ถึงนโยบายของตลาดที่จะ Go Green ก็ให้ความร่วมมือเต็มที่  มีการพกถุงผ้าขนาดต่างๆ           มาเอง รวมถึงหิ้วตะกร้า  พกปิ่นโต ทัอร์แวร์ จากบ้านมาใส่อาหาร แทนการใช้ถุงพลาสติก  รวมถึงการพกแก้วน้ำดื่มมาเอง ซึ่งทางตลาดสุขใจได้มีการตั้งเครื่องกดน้ำดื่ม อำนวยความสะดวกให้ด้วย หลายรายเตรียมพร้อมมากๆ  พกทั้งหลอดโลหะ  ตะเกียบ และช้อน มาเองเลย  

ในวันเปิดโครงการรวมพลังรักษ์โลก We Go Green  พ่อค้า แม่ค้า ในตลาดสุขใจ ยังยินดีมอบส่วนลด ของแถมให้ลูกค้าที่นำถุงผ้า และตะกร้ามาช้อปที่ตลาดสุขใจ และมีการสาธิตไอเดียทำบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ เช่นคุ รอรุณี พุทธรักษ สอนวิธีใช้ใบบัวหลวงอินทรีย์ห่อพืชผัก พร้อมผูกปมทำเป็นหูหิ้ ถือไปมาสะดวก  ลุงประกฤติ เกิดมณี สอนวิธีทำตะกร้าจากใบมะพร้าว  คุณธนายุทธ จักรเพชร สอนทำกระเป๋ากาบกล้วย เรือใบตอง เหล่านี้เป็นต้น

ตลาดสุขใจ ภายใต้โครงการสามพรานโมเดล เปิดมาแล้ว 8 ปี   พืชผักที่จำหน่ายในตลาดเป็นพืชผักที่ปลกในระบบเกษตรกรอินทรีย์ จากกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ในเครือข่ายสามพรานโมเดล 15 กลุ่มมีสมาชิกจำนวน 177 ครัวเรือนกระจายอยู่ในพื้นที่ จังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง ในส่วนของอาหารแปรรูป อาหารปรุงสุก เน้นให้มีการใช้วัตถุดิบอินทรีย์ให้มากที่สุด โดยแต่ละร้านจะมีป้ายเขียนบอกความเป็นอินทรีย์อย่างชัดเจน